วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เศรษฐศาสตร์ เบื้องต้น

 เศรษฐศาสตร์  เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม เกี่ยวกับการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  เพื่อผลิตสินค้าและบริการไปบำบัดความต้องการของมนุษย์อันมีอยู่อย่างไม่จำกัด  เศรษฐศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 แขนง คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาเศรษฐกิจหน่วยย่อย และเศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาเศรษฐกิจส่วนรวม ทั้ง 2 แขนง มีความสัมพันธ์กัน และมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นอกจากนี้ เศรษฐศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับวิชาอื่น ๆ เช่น บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และจิตวิทยา เป็นต้น
          ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์  แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง เป็นการศึกษาเพื่อให้รู้ว่าอะไรคืออะไร และทฤฎีเศรษฐศาสตร์ตามที่ควรจะเป็น เป็นการศึกษาเพื่อตัดสินว่าคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร
          การศึกษาเศรษฐศาสตร์ มี 2 วิธี คือ วิธีอนุมาน เป็นการศึกษาจากสาเหตุไปหาผล และวิธีอุปมาน เป็นการศึกษาจากผลเพื่อหาสาเหตุ ทุกสังคมในโลกล้วนมีปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีปัจจัยการผลิตจำกัด ทำให้ต้องมีการตัดสินใจว่า จะใช้ปัจจัยการผลิตนั้นไปเพื่อเลือกผลิตอะไร ใช้กรรมวิธีผลิตอย่างไร และจะแบ่งปันสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปให้ใครบ้าง
          เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์มาก เพราะเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้ผลิต เจ้าของปัจจัยการผลิต หรือผู้บริโภค
กิจกรรมชวนคิด
          ให้นักศึกษาเสนอความคิดเห็นในฐานะผู้บริโภค เพื่อสนับสนุนคำกล่าวที่ว่า "การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์มีประโยชน์ต่อผู้ศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงาน" ส่งอาจารย์มีคะแนนให้
แหล่งอ้างอิง
          ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นเพิ่มเติมได้จากคู่มือเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น  ที่ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี และศูนย์การเรียนรู้ ปวช.  อาคารอำนวยการ ชั้น 3 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลำพูน

เศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ (อังกฤษ: Economics)
เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ
คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikosแปลว่าบ้านและnomosแปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของบ้าน(ครัวเรือน)) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน
เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ๆคือ
  1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งสนใจพฤติกรรมขององค์ประกอบพื้นฐานในระบบเศรษฐกิจซึ่งรวมถึง ตลาดแต่ละตลาดและตัวแทนทางเศรษฐกิจ(เช่นครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ผู้ซื้อ และผู้ขาย)
  2. เศรษฐศาสตร์มหภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานมวลรวมและอุปสงค์มวลรวม การว่างงาน เงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกออกตามการวิเคราะห์ปัญหาได้แก่
  1. เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ หรือเศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริง (Positive economics)
  2. เศรษฐศาสตร์นโยบาย หรือเศรษฐศาสตร์ตามที่ควรจะเป็น (Normative economics)
สำหรับประเด็นหลักๆที่เศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจจะอยู่ที่การจัดสรรทรัพยากร การผลิต การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขัน โดยหลักการแล้วคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกภายใต้ข้อจำกัดด้านความขาดแคลนมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีการกำหนดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับทางเลือกนั้นๆ นั่นเอง
ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบสำนักคลาสสิคใหม่ (Neo - Classical Economics)

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] จุดเริ่มต้นของเศรษฐศาสตร์

แม้การถกเถียงเรื่องการซื้อขายและการจัดสรรจะมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เศรษฐศาสตร์ในความคิดของคนสมัยใหม่นั้นจะถือเอาวันที่ อดัม สมิธ ได้เผยแพร่หนังสือเรื่อง "ความมั่งคั่งของประชาชาติ" (The Wealth of Nations) ในปี ค.ศ. 1776 เป็นการเริ่มต้น
เดิม อดัม สมิธ เรียกวิชานี้ว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง แต่ต่อมาได้ถูกใช้เป็น เศรษฐศาสตร์ เพียงอย่างเดียวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 กลไกการตลาดเปรียบเสมือน "มือที่มองไม่เห็น" (Invisible Hand)

[แก้] อุปสงค์และอุปทาน

ดูบทความหลักที่ อุปสงค์และอุปทาน Supply-demand-right-shift-demand.svg
อุปสงค์และอุปทานเป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ของราคาและปริมาณในท้องตลาด กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลทางทฤษฎีจะระบุว่าเมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิตได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่จุดดุลยภาพ ซึ่งเป็นจุดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นอีก เมื่อใดก็ตามที่ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าที่จุดดุลยภาพนี้ ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ระดับราคาดังกล่าวแล้ว ณ จุดนี้กล่าวได้ว่าตลาดเข้าสู่จุดสมดุลแล้ว

[แก้] ระดับราคา

ระดับราคาเป็นตัวแปรที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการวัดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน ระดับราคานั้นเป็นอัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในตลาด ดังนั้นทฤษฎีราคาจะกล่าวถึงเส้นกราฟที่แทนการเคลื่อนไหวของปริมาณที่สามารถวัดค่าได้ ณ เวลาต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างราคากับตัวแปรที่วัดค่าได้อื่นๆ ในหนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ (The Wealth of Nations) ของ อดัม สมิธ ได้กล่าวเอาไว้ว่า มักจะมีภาวะได้อย่างเสียอย่างเสมอระหว่างราคาและความสะดวกสบาย ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นอยู่บนพื้นฐานของระดับราคาและทฤษฎี อุปสงค์และอุปทาน (Demand & Supply) ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แล้วเราสามารถส่งผ่านสัญญาณไปทั่วทั้งสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านทางระดับราคา เช่น ระดับราคาที่ต่ำลงจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ ในขณะที่ระดับราคาที่สูงขึ้นจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอุปทาน เป็นต้น
แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ในความเป็นจริงหลายชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่ามีรูปแบบของ ระดับราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะแสดงถึงข้อเท็จจริงที่ระดับราคาไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในหลายๆ ตลาด ผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจมักจะเข้ามาแสดงประเด็นโต้แย้งเพื่อให้เห็นถึงสาเหตุของความติดขัดในทางเศรษฐกิจ หรือระดับราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งในที่สุดแล้วก็จะทำให้ไม่สามารถบรรลุดุลยภาพของอุปสงค์และอุปทานได้
มีเศรษฐศาสตร์บางสาขาจะให้ความสนใจว่าระดับราคานั้นสามารถวัดมูลค่าได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่เป็นกระแสหลักมักจะพบว่าภาวะความขาดแคลนซึ่งเป็นปัจจัยหลักนั้นไม่ได้สะท้อนลงไปยังระดับราคา จึงอาจจะกล่าวได้ว่ามี ผลกระทบภายนอก ของต้นทุน ด้วยเหตุที่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดจะทำนายว่าสินค้าที่มีการขาดแคลนแต่มีราคาต่ำกว่าปกติ จะถูกบริโภคมากเกินพอดี (ให้ดู ต้นทุนทางสังคม) นี่จึงเป็นที่มาของทฤษฎี สินค้าสาธารณะ